Health & Ariticlees

Remdesivir อีกหนึ่งความหวังในการรักษาโรคโควิด-19

Remdesivir

Remdesivir อีกหนึ่งความหวังในการรักษาโรคโควิด-19

  • ยาเรมเดซิเวียร์ เป็นยาชนิดฉีด มีฤทธิ์ต้านไวรัสได้อย่างกว้างขวาง (broad-spectrum antiviral drug)และขัดขวางการเพิ่มจำนวน RNA ของไวรัส
  • ผลการศึกษาในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสโรคซาร์ส (SARS-COV), ไวรัสโรคเมอร์ส (MERS-CoV) และไวรัสก่อโรคโควิด-19 (SARS-CoV-2)
  • ปัจจุบันยาเรมเดซีเวียร์ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป (EU) อังกฤษ ออสเตรเลีย อินเดีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
  • ในประเทศไทย ปัจจุบันกรมการแพทย์ กระทรวงสารารณสุข พิจารณาให้ใช้ยาเรมเดซเวียร์ในผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงที่มีการหายใจล้มเหลวหรือมีโอกาสการหายใจล้มเหลวสูง หญิงตั้งครรภ์ที่มีปอดอักเสบ หรือในผู้ที่มีปัญหาในการดูดซึม หรือในผู้ที่ไม่รู้สึกตัวไม่สามารถรับประทานยาได้ ไม่แนะนำให้ใช้ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์เพราะออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งเดียวกัน

ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

ข้อมูลเพิ่มเติมและกรณีตัวอย่างของการใช้ยา Remdesivir

หากผู้ป่วยมีอาการปอดบวมรุนแรงและแพทย์วินิจฉัยว่าให้เริ่มใช้ Remdesivir ได้ ผู้ป่วย 1 รายที่จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองหรือสีส้มที่มีอาการแล้ว จะได้รับยา Remdesivir โดยการฉีดเข้าเส้น ซึ่งตามไกด์ไลน์การให้ยาใช้เวลา 5 วัน และด้วยอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือ Hospitel และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การอ้างอิง

[1] นิธิพัฒน์ เจียรกุล, วรรษมน จันทรเบญจกุล และ กำธร มาลาธรรม. (2564). Remdesivir อีกหนึ่งความหวังในการรักษาโรคโควิด-19. from https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/remdesivir-covid-19-remdesivir-อีกหนึ่งความหวังใน/

[2] กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. from https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640909181401PM_CPG_COVID_v.18.2_ns_20210909%20-.pdf