Health & Ariticlees

สรุปประสิทธิผลของ Favipiravir

เพื่อตอบประเด็นที่คนไทยสงสัยเกี่ยวกับ Favipiravir ยาต้านไวรัสที่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19

กระทรวงสาธารณสุข จึงออกมาให้ข้อมูล และมีแพทย์จาก 4 คณะทำงาน มาร่วมให้ข้อมูล ดังนี้

  • ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์
  • นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค
  • นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 กลไกการออกฤทธิ์' ของ Favipiravir
กลไกการออกฤทธิ์’ ของ Favipiravir

เนื่องจากเป็นยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์ยังยั้งจำนวน RNA ทำให้กำจัดไวรัสออกจากร่างกายได้ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในการระบาดระลอกแรกปี 2563 ทั้งยังมีการรักษาด้วยยา Favipiravir ในประเทศต่างๆ เช่น

  • จีนพบว่า ลดการติดเชื้อได้ดีกว่าใช้ยาต้านไวรัสโลพินาเวียร์ (Lopinavir) และยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir)
  • รัสเซียพบว่า Favipiravir กำจัดเชื้อโควิด 19 ได้ดีกว่าการรักษาตามมาตรฐานในวันที่ 5

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาจากหลายสถาบันของไทยในการระบาดระลอกแรกปี 2563 จำนวน 424 คน พบว่า หากได้รับยา Favipiravir ภายใน 4 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะลดความรุนแรงได้ร้อยละ 28.8% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลังมีอาการ 4 วัน

อนึ่ง จากการศึกษาผู้ป่วยกลุ่มเล็กๆ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่ากลุ่มที่มีอาการปอดบวมรุนแรงอาการจะดีขึ้นเฉลี่ยภายใน 14 วัน ส่วนกลุ่มที่ปอดบวมไม่รุนแรงจะดีขึ้นใน 9 วัน

การใช้ favipiravir

จากข้อมูล ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2564 ฟาวิพิราเวียร์ได้รับการอนุมัติใช้สําหรับรักษา โควิด-19 ใน 10 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ จีน โปรตุเกส ฮังการี รัสเซีย อินเดีย เซอร์เบีย เกาหลีใต้ ไทย โปแลนด์ ตุรกี ขณะที่ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2564 พบว่าใน ฐานข้อมูล ClinicalTrails.gov มีการศึกษาประสิทธิผลของยานี้ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 56 การศึกษา เสร็จสิ้นแล้ว 18 การศึกษา

อภิปรายผล

  • ฟาวิพิราเวียร์ มีประสิทธิผลลดอาการทางคลินิกเท่านั้น ประสิทธิผลด้านอื่นยังไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสําคัญ จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบทั้ง 4 ชิ้น พบเพียงหลักฐานแสดงประสิทธิผล ของยาฟาวิพิราเวียร์ในการลดอาการทางคลินิกที่มีความน่าเชื่อถือสูง ขณะที่ประสิทธิผลด้านอื่น ๆ ยังไม่พบว่า แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญ
  • ผลข้างเคียงมีไม่มาก แต่อาจรุนแรงในผู้ป่วยโรคไต ตับ และหญิงตั้งครรภ์ ยังต้องติดตามผลการใช้ยาอย่างใกล้ชิด รวมถึงผลกระทบระยะยาว
  • งานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิผลของยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโควิด-19 จนแล้วเสร็จยังมีไม่มาก และส่วนใหญ่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยยาอื่น

การอ้างอิง

[1] ประสิทธิผลของฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) EVIDENCE UPDATE ในการรักษาโควิด-19 , HITAP from https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2021/08/favipiravir-OK_logoEdit.pdf

[2] สรุปประสิทธิผลของ Favipiravir และการฉีดวัคซีนโควิด 19 กับการกระตุ้นภูมิ, Springnews from https://www.springnews.co.th/news/814426